Royal Thai Embassy, Vientiane

Royal Thai Embassy, Vientiane Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from Royal Thai Embassy, Vientiane, Government Organization, Vientiane.

26/12/2024
เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ พบหารือรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาวเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 นางสาวมรกต ศรีสวัสด...
25/12/2024

เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ พบหารือรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว

เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ ออท. ณ เวียงจันทน์ พบหารือกับนายงามปะสง เมืองมะนี รมต. กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว สองฝ่ายหารือถึงความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ทวิภาคีระหว่างไทยและ สปป. ลาวและความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นสำคัญที่หารือประกอบด้วย (1) แผนงานการก่อสร้างโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 เชื่อมโยงจังหวัดอุบลราชธานีกับแขวงสาละวันของ สปป. ลาว (2) พัฒนาการของโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) ที่ปัจจุบันการก่อสร้างดำเนินไปแล้วกว่าร้อยละ 90 ของแผนงาน และ (3) พัฒนาการของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง หลวงพระบาง-บ้านเชียงแมน ที่สนับสนุนโดยสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) รวมถึงโครงการอื่น ๆ และ (4) โครงการรถโดยสารมวลชนในนครหลวงเวียงจันทน์

ทั้งนี้ สองฝ่ายได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความร่วมมือร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยและ สปป. ลาวต่อไป

ເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ເຂົ້າພົບຫາລືຮ່ວມກັບລັດຖະມົນຕີກະຊວງໂຍທາທິການ ແລະ ຂົນສົ່ງ ແຫ່ງ ສປປ ລາວ

ເມື່ອວັນທີ 24 ທັນວາ 2024 ທ່ານນາງ ມໍຣະກົດ ສີິສະຫວັດ ເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ເຂົ້າພົບ ຫາລືຮ່ວມກັບ ທ່ານ ງາມປະສົງ ເມືອງມະນີ ລັດຖະມົນຕີກະຊວງໂຍທາທິການ ແລະ ຂົນສົ່ງ ແຫ່ງ ສປປ ລາວ ທັງສອງຝ່າຍໄດ້ຮ່ວມຫາລືເຸຖິງຄວາມຮ່ວມມືທາງດ້ານການຄົມມະນາຄົມຂົນສົ່ງ ແລະ ໂລຈີສຕິກທະວິພາຄີລະຫວ່າງໄທ ແລະ ສປປ ລາວ ແລະ ຄວາມຮ່ວມມືທີ່ກ່ຽວຂ້ອງປະເດັນສຳຄັນທີ່ຫາລືປະກອບດ້ວຍ (1) ແຜນງານການກໍ່ສ້າງໂຄງການກໍ່ສ້າງຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 6 ເຊື່ອມຕໍ່ລະຫວ່າງຈັງຫວັດອຸບົນຣາຊະທານີ, ຣາຊະອານາຈັກໄທ ກັບ ແຂວງສາລະວັນ, ສປປ ລາວ (2) ຄວາມຄືບໜ້າຂອງໂຄງການກໍ່ສ້າງຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 5 (ບຶງການ - ບໍລິຄຳໄຊ) ທີ່ປະຈຸບັນການກໍ່ສ້າງກຳລັງດຳເນີນໄປແລ້ວຮ້ອຍລະ 90 ຂອງແຜນການ (3) ຄວາມຄືບໜ້າຂອງໂຄງການກໍ່ສ້າງຂົວຂ້າມແມ່ນ້ຳຂອງຫຼວງພະບາງ - ບ້ານຊຽງແມນທີ່ສະໜັບສະໜຸນໂດຍສຳນັກງານຄວາມຮ່ວມມືພັດທະນາເສດຖະກິດກັບປະເທດເພື່ອນບ້ານ (ສພພ) ລວມເຸຖິງໂຄງການອື່ນໆ ແລະ (4) ໂຄງການລົດໂດຍສານສາທາລະນະໃນນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ

ທັງນີ້, ທັງສອງຝ່າຍໄດ້ເນ້ັນຍ້ຳເຸຖິງູຄວາມມຸ່ງໝັ້ນໃນການສົ່ງເສີມຄວາມຮ່ວມມືຮ່ວມກັນເພື່ອເສີມສ້າງຄວາມເປັນຮຸ້ນສ່ວນທີ່ຮັດແໜ້ນລະຫວ່າງໄທ ແລະ ສປປ ລາວ

Thai Ambassador Meets Lao Minister of Public Works and Transport
On December 24, 2024, H.E. Ambassador Morakot Sriswasdi met H.E. Mr. Ngampasong Muongmany, the Minister of Public Works and Transport of Lao PDR. They discussed on enhancing bilateral cooperation, focusing on key infrastructure projects.

Key topics included the construction plan for the sixth Thai-Lao Friendship Bridge (Ubon Ratchathani-Saravan), which will connect Ubon Ratchathani in Thailand with Saravan province in Laos. They also reviewed the progress of the fifth Thai-Lao Friendship Bridge (Buengkan-Bolikhamxai) which is currently over 90% completed, the Luangprabang-Chiangman Bridge, supported by the Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (NEDA), and the BRT in Vientiane.

Both parties reaffirmed their commitment to working together for mutual benefit, highlighting the strong partnership between Thailand and Laos.

เอกอัครราชทูต ทีมประเทศไทย ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ และภาคเอกชนไทยใน สปป.ลาว จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธา...
25/12/2024

เอกอัครราชทูต ทีมประเทศไทย ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ และภาคเอกชนไทยใน สปป.ลาว จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๗

เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ พร้อมด้วยทีมประเทศไทย ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูตฯ และคู่สมรส และภาคเอกชนไทยใน สปป.ลาว จัดกิจกรรมจิตอาสาโดยร่วมเลี้ยงอาหารกลางวันนักเรียนและอาจารย์โรงเรียนศึกษาคนพิการ นครหลวงเวียงจันทน์ จำนวน ๑๒๐ คน ในโอกาสนี้ นายคำไพ ส้อยสุวัน ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาคนพิการ นครหลวงเวียงจันทน์ ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความขอบคุณสถานเอกอัครราชทูตฯ หน่วยงานทีมประเทศไทย และภาคเอกชนไทยใน สปป.ลาว ที่ได้ร่วมจัดกิจกรรมจิตอาสาในโอกาสดังกล่าว

ในโอกาสนี้ ภาคเอกชนไทย ได้แก่ บริษัท ซี.พี. ลาว จำกัด ได้ร่วมสนับสนุนน้ำดื่ม จำนวน ๒๔๐ ขวด และไข่ต้ม จำนวน ๑๒๐ ฟอง และบริษัท พีทีที (ลาว) จำกัด ได้ร่วมสนับสนุนเครื่องดื่ม จำนวน ๑๕๐ แก้ว โดยนายพีรเวท ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการบริษัท พีทีที (ลาว) จำกัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเลี้ยงอาหารกลางวันที่โรงเรียนศึกษาคนพิการ นครหลวงเวียงจันทน์ด้วย

โรงเรียนศึกษาคนพิการ นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นโรงเรียนสำหรับผู้พิการในทุกรูปแบบของรัฐแห่งเดียวใน นครหลวงเวียงจันทน์ ที่เปิดสอนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีนักเรียนจำนวน ๑๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประจำที่เดินทางมาจากแขวงต่าง ๆ ของ สปป.ลาว

ເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ, ທີມປະເທດໄທ, ຂ້າຣາຊະການສະຖານເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ແລະ ພາກເອກກະຊົນໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ຈັດກິດຈະກຳຈິດອາສາບຳເພັນສາທາລະນະປະໂຫຍດ ແລະ ບຳເພັນສາທາລະນະກຸສົນສະເຫຼີມພະກຽດ ເນື່ອງໃນໂອກາດວັນຄ້າຍວັນພະບໍຣົມຣາດຊະສົມພົບຂອງພະບາດສົມເດັດພະບໍຣົມຊະນະກາທິເບດ ມະຫາພູມິພົນອະດຸນຍະເດດມະຫາຣາດ ບໍຣົມມະນາດບໍພິດວັນຊາດ ແລະ ວັນພໍ່ແຫ່ງຊາດ 5 ທັນວາ 2024.

ເມື່ອວັນທີ 24 ທັນວາ 2024 ທ່ານນາງ ມໍຣະກົດ ສີສະຫວັດ ເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ພ້ອມດ້ວຍທີມປະເທດໄທ, ຂ້າຣາຊະການສະຖານເອກອັກຄະຣາຊະທູດ, ຄູ່ສົມລົດ ແລະ ພາກເອກກະຊົນໄທໃນ ລາວ ຈັດກິດຈະກຳຈິດອາສາໂດຍຮ່ວມລ້ຽງອາຫານທ່ຽງນັກຮຽນ ແລະ ອາຈານໂຮງຮຽນສຶກສາຄົນພິການ ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ ຈຳນວນ 120 ຄົນ. ໃນໂອກາດນີ້, ທ່ານ ຄຳໄພ ສ້ອຍສຸວັນ ຜູ້ອຳນວຍການໂຮງຮຽນສຶກສາຄົນພິການ ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ ໄດ້ກ່າວຕ້ອນຮັບ ແລະ ສະແດງຄວາມຂອບໃຈສະຖານເອກອັກຄະຣາຊະທູດ, ໜ່ວຍງານທີມປະເທດໄທ ແລະ ພາກເອກກະຊົນໄທ ໃນ ສປປ ລາວ ທີ່ໄດ້ຮ່ວມຈັດກິດຈະກຳຈິດອາສາໃນໂອກາດດັ່ງກ່າວ.

ໃນໂອກາດນີ້, ພາກເອກກະຊົນໄທ ໄດ້ແກ່: ບໍລິສັດ ຊີ.ພີ. ລາວ ຈຳກັດ ໄດ້ຮ່ວມສະໜັບສະໜູນນ້ຳດື່ມ ຈຳນວນ 250 ຂວດ ແລະ ໄຂ່ຕົ້ມຈຳນວນ 120 ໜ່ວຍ ແລະ ບໍລິສັດ ພີທີທີ (ລາວ) ຈຳກັດ ໄດ້ຮ່ວມສະໜັບສະໜູນເຄື່ອງດື່ມຈຳນວນ 150 ຈອກ. ໂດຍທ່ານ ພີຣະເວດ ນະ ຣະນອງ ກຳມະການຜູ້ຈັດການບໍລິສັດ ພີທີທີ (ລາວ) ຈຳກັດ ພ້ອມດ້ວຍເຈົ້າໜ້າທີ່ບໍລິສັດ ໄດ້ເຂົ້າຮ່ວມລ້ຽງອາຫານທ່ຽງທີ່ໂຮງຮຽນສຶກສາຄົນພິການ ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ ດ້ວຍ.

ໂຮງຮຽນສຶກສາຄົນພິການ ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ ເປັນໂຮງຮຽນສຳລັບຜູ້ພິການທຸກປະເພດຂອງລັດແຫ່ງດຽວໃນນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ ທີ່ເປີດສອນໃນລະດັບປະຖົມສຶກສາ ແລະ ມັດທະຍົມສຶກສາ ມີນັກຮຽນຈຳນວນ 100 ຄົນ. ສ່ວນໃຫຍ່ເປັນນັກຮຽນປະຈຳທີ່ເດີນທາງມາຈາກແຂວງຕ່າງໆຂອງ ສປປ ລາວ

Activity of the Royal Thai Volunteers on the Occasion of the Birthday Anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej The Great, the National Day of the Kingdom of Thailand, and Thailand’s Father’s Day 5 December 2024

On 24 December 2024, H.E. Ms. Morakot Sriswasdi, Ambassador of the Kingdom of Thailand to the Lao PDR, together with Team Thailand, Officials of the Royal Thai Embassy in Vientiane and spouses, as well as the Thai private sector in the Lao PDR jointly organised an activity of the Royal Thai Volunteers by hosting a lunch for 120 students and teachers at Vientiane Capital Disability Education School. On this occasion, Mr. Khamphay Soysouvanh, Director of Vientiane Capital Disability Education School, extended a warm welcome and expressed his gratitude to the Royal Thai Embassy, Team Thailand, and the Thai private sector in the Lao PDR for the support.

C.P. Laos Co., Ltd. provided 240 bottles of drinking water and 120 boiled eggs and PTT (LAO) Co., Ltd. also provided 150 cups of beverages. On this occasion, Mr. Peravej Na Ranong, Managing Director of PTT (LAO) Co.,Ltd., along with company staff, also participated in serving lunch to students and teachers at Vientiane Capital Disability Education School.

The Vientiane Capital Disability Education School is the only public school in Vientiane Capital that offers both primary and secondary education for students with disabilities of all types. Currently, the school has approximately 100 boarding students from various provinces across the Lao PDR.

พระธรรมวชิราธิบดี เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามนำคณะพระสงฆ์โครงการธรรมจาริกสู่ดินแดนพระพุทธศาสนา รุ่นที่ ๖ เดินทางเย...
25/12/2024

พระธรรมวชิราธิบดี เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามนำคณะพระสงฆ์โครงการธรรมจาริกสู่ดินแดนพระพุทธศาสนา รุ่นที่ ๖ เดินทางเยือน สปป. ลาว (๒๓-๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๗)

พระธรรมวชิราธิบดี เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เจ้าคณะภาค ๑๗ เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนใต้ ประธานคณะพระธรรมจาริก นำคณะพระสงฆ์และสามเณรรวม ๑๗ รูปจากโครงการธรรมจาริกสู่ดินแดนพระพุทธศาสนา รุ่นที่ ๖ เดินทางเยือน สปป. ลาว ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ โดยได้เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาในนครหลวงเวียงจันทน์ อาทิ วัดองค์ตื้อ วัดอินแปง วัดพระธาตุหลวง และเมืองหลวงพระบาง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ คณะสงฆ์และสามเณรจากโครงการฯ ได้เดินทางไป กราบนมัสการพระอาจารย์ใหญ่ มะหาบุนมา สิมมาพม ประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ ประจำ สปป. ลาว (สังฆนายก) และได้เดินทางมาเจริญพระพุทธมนต์ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตฯ โดยมีเอกอัครราชทูตและข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์เข้าร่วม

ພະທຳມະວະຊິຣາທິບໍດີ ເຈົ້າອາວາດວັດເບນຈະມະບໍພິດດຸສິດວະນາຣາມ ນຳຄະນະພະສົງໂຄງການທຳມະຈາຣິກສູ່ດິນແດນພະພຸດທະສາສະໜາ ຮຸ່ນທີ 6 ເດີນທາງຢ້ຽມຢາມ ສປປ ລາວ (23-27 ທັນວາ 2024)

ພະທຳມະວະຊິຣາທິບໍດີ ເຈົ້າອາວາດວັດເບນຈະມະບໍພິດດຸສິດວະນາຣາມ ເຈົ້າຄະນະພາກ 17 ເລຂານຸການເຈົ້າຄະນະໃຫຍ່ຫົນໃຕ້ ປະທານຄະນະພະທຳມະຈາຣິກ ນຳຄະນະພະສົງ ແລະ ສາມະເນນລວມ 17 ອົງ ຈາກໂຄງການທຳມະຈາຣິກສູ່ດິນແດນພະພຸດທະສາສະໜາ ຮຸ່ນທີ 6 ເດີນທາງຢ້ຽມຢາມ ສປປ ລາວ ລະຫວ່າງວັນທີ 23-27 ທັນວາ 2024 ໂດຍໄດ້ເດີນທາງໄປຢ້ຽມຊົມສະຖານທີ່ສຳຄັນທາງພະພຸດທະສາສະໜາໃນນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ ເຊັ່ນ: ວັດອົງຕື້, ວັດອິນແປງ, ວັດພະທາດຫຼວງ ແລະ ນະຄອນຫຼວງພະບາງ. ທັງນີ້, ເມື່ອວັນທີ 24 ທັນວາ 2024 ຄະນະສົງ ແລະ ສາມະເນນຈາກໂຄງການ ໄດ້ເດີນທາງໄປຂາບນະມັດສະການພະອາຈານໃຫຍ່ ມະຫາບຸນມາ ສິມມາພົມ ປະທານສູນກາງອົງການພຸດທະສາສະໜາສັມພັນ ແຫ່ງ ສປປ ລາວ ແລະ ໄດ້ເດີນທາງມາຈະເລີນພະພຸດທະມົນທີ່ທຳນຽບເອກອັກຄະຣາຊະທູດ ໂດຍມີເອກອັກຄະຣາຊະທູດ ແລະ ຂ້າຣາຊະການສະຖານເອກອັກຄະຣາຊະທູດ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ເຂົ້າຮ່ວມ.

During 23-27 December 2024, Phradhamvajirathibodhi, the abbot of Benchamabophitr Dusitwanaram Temple (or the Marble Temple), the Ecclesiastical Regional Governor 17, Secretary of the Chief Superintendent of the South and Chairman of Dhammajarik Program, led the delegation of 17 Buddhist monks who participate in the 6th Dhammajarik Program to visit Laos PDR. The delegation paid visits to important Buddhist landmarks in Vientiane, including Ong Teu temple, In Pang Temple, Pha That Luang and Luang Prabang Province. On this occasion, on 24 December 2024, the delegation also had the opportunity to pay respect to the Most Venerable Maha Bounma Simmaphom, President of the Buddhist Fellowship Organization of the Lao PDR. The delegation also paid a visit to the Thai Residence and chanted to bless Ambassador and Officials of the Royal Thai Embassy in Vientiane.

พระพรหมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร) รับบิณฑบาตร และแสดงพระธรรมเทศนา เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ พระพรหมพัชรญาณมุนี (พร...
23/12/2024

พระพรหมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร) รับบิณฑบาตร และแสดงพระธรรมเทศนา

เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ พระพรหมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร) พร้อมด้วยพระตุลย์ หงษ์วิวัฒน์ ได้รับนิมนต์จากสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ มาบิณฑบาตร และบรรยายธรรม ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตฯ โดยมีเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ทีมประเทศไทยและครอบครัวพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวลาวเข้าร่วมประมาณ ๘๐ คน

ในโอกาสนี้ พระอาจารย์ชยสาโรได้นำสวดมนต์ นั่งสมาธิ และบรรยายหลักธรรมต่าง ๆ สำหรับการดำเนินชีวิต และการทำงาน รวมถึงตอบข้อซักถามจากพุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมฟังการบรรยายธรรมด้วย ผู้สนใจสามารถชมวิดิทัศน์การบรรยายธรรมได้ที่ Facebook ของสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์

นอกจากนี้ ในระหว่างที่พำนักอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ พระพรหมพัชรญาณมุนีและคณะได้เดินทางไปเยี่ยมวัดป่าพระธรรมเทพวงศ์ ที่แขวงเวียงจันทน์ วัดองค์ตื้อ ได้พบกับพระอาจารย์พวงปะเสิด เจ้าอาวาส และได้เข้าเยี่ยมนมัสการพระมะหาเหวด มะเสโน รองประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว (อพส.) และเจ้าอาวาสวัดสีสะเกดด้วย

โครงการนี้เป็นโครงการที่จัดขึ้นต่อเนื่องใน ๓ ประเทศ คือ สปป.ลาว เวียดนาม และ กัมพูชา จากนครหลวงเวียงจันทน์ พระพรหมพัชรญาณมุนีเดินทางไปบรรยายธรรมแก่พุทธศาสนิกชนที่กรุงฮานอย ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๑ ธ.ค. และกรุงพนมเปญระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒ ธ.ค. ด้วย

อนึ่ง เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๗ กระทรวงการต่างประเทศและมูลนิธิไทยได้ถวายรางวัลการทูตสาธารณะประจำปี ๒๕๖๗ แก่พระพรหมพัชรญาณมุนี ในฐานะที่เป็นผู้มีบทบาทในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเถรวาทไทยออกไปอย่างแพร่หลาย ทำให้ชาวต่างชาติเกิดความสนใจในพุทธธรรม ภารกิจของท่านยังช่วยส่งเสริมให้นานาชาติเห็นถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณของความเป็นไทยผ่านพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่สำคัญของชาวไทยด้วย

On 20 December 2024, the Venerable Phra Phrompacharayanmuni (Ajahn Jayasaro) and Phra Tull Hongwiwat accepted the invitation from the Royal Thai Embassy, Vientiane, to receive alms and give dhamma talk at the Royal Thai Residence in Vientiane, Laos PDR, during which around 80 Thai and Lao Buddhists attended.

On this occasion, Ajahn Jayasaro led the chanting and meditation. He gave dhamma talk and explained how to apply dhamma in daily life and at work, as well as answering various dhamma questions posed by participants. The video of dhamma talk could be viewed at the Facebook of the Royal Thai Embassy, Vientiane.

In addition, while in Vientiane, Ajahn Jayasaro paid visits to Wat Pa Phra Dhammateppawongst (วัดป่าพระธรรมเทพวงศ์), Wat Ong Tue and Wat Sisaket. This visit to Vientiane is part of Ajahn Jayasaro’s continuous trip. Apart from Vientiane, he is also scheduled to visit Hanoi and Phnom Penh.

Ajahn Jayasaro is an Awardee for this year Thailand’s Public Diplomacy Award, presented by the Ministry of Foreign Affairs of Thailand and the Thailand Foundation on 6 December 2024. The Award was presented as recognition for his distinguished and rigorous contributions to preserving and propagating Thai Theravada Buddhism globally. His efforts have sparked international interest in Buddhist teachings, leading many foreigners to travel to Thailand to study the Dhamma. His work has helped to promote international awareness of Thai identity, culture, and spirit through Buddhism, which is a major aspect of the way of life for the Thai Buddhists.

เอกอัครราชทูต เยี่ยมคารวะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาวเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครรา...
23/12/2024

เอกอัครราชทูต เยี่ยมคารวะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ เข้าเยี่ยมคารวะนายทองสะหวัน พมวิหาน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ และแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแห่ง สปป.ลาว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับ สปป.ลาว รวมถึงการเตรียมการกิจกรรมสำหรับเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ในปี 2568 นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติด้วย

ເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ຢ້ຽມຂໍ່ານັບລັດຖະມົນຕີກະຊວງການຕ່າງປະເທດ.

ເມື່ອວັນທີ 11 ທັນວາ 2024 ທ່ານນາງ ມໍຣະກົດ ສີສະຫວັດ ເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ເຂົ້າຢ້ຽມຂໍ່ານັບທ່ານ ທອງສະຫວັນ ພົມວິຫານ ລັດຖະມົນຕີກະຊວງການຕ່າງປະເທດ ສປປ ລາວ ເພື່ອສະແດງຄວາມຍິນດີໃນໂອກາດທີ່ເຂົ້າຮັບຕໍ່າແໜ່ງໃໝ່ ແລະ ສະແດງຄວາມພ້ອມທີ່ຈະສະໜັບສະໜູນການປະຕິບັດໜ້າທີ່ຂອງລັດຖະມົນຕີກະຊວງການຕ່າງປະເທດ ແຫ່ງ ສປປ ລາວ ເພື່ອສົ່ງເສີມການຮ່ວມມືລະຫວ່າງໄທ ກັບ ສປປ ລາວ ລວມເຖິງ, ການກຽມກິດຈະກຳສຳລັບການສະເຫຼີທສະຫຼອງຄົບຮອບ 75 ປີ ການພົວພັນທາງການທູດລະຫວ່າງໄທ ກັບ ສປປ ລາວ ໃນປີ 2025. ນອກຈາກນີ້, ທັງສອງຝ່າຍ ໄດ້ແລກປ່ຽນຄວາມເຫັນໃນປະເດັນການພັດທະນາຊັບພະຍາກອນມະນຸດ, ການຮ່ວມມືໃນຂອບອະນຸພາກພື້ນ, ການຮ່ວມມືດ້ານການປ້ອງກັນ ແລະ ປາບປາມຢາເສບຕິດ ແລະ ອາຊະຍາກຳຂ້າມຊາດ ດ້ວຍ.

Ambassador Morakot paid a courtesy call on H.E. Mr. Thongsavanh Phomvihane, Minister of Foreign Affairs of the Lao PDR

On 11 December 2024, Ambassador Morakot Sriswasdi paid a courtesy call on H.E. Mr. Thongsavanh Phomvihane, Minister of Foreign Affairs of the Lao PDR, to congratulate him on assuming his new duties. Ambassador confirmed readiness to support his role in enhancing the relations between Thailand and Lao PDR. In the meeting, both sides also discussed the preparation of the celebration of the 75th anniversary of diplomatic relations between Thailand and Lao PDR in 2025, human resources development, subregional cooperation, and cooperation to suppress illicit drugs trafficking and other transnational crimes.

20/12/2024

สถานเอกอัคราชทูต ณ เวียงจันทน์ ขอเชิญ พุทธศาสนิกชนร่วมรับฟังพระธรรมเทศนาโดยพระพรหมพัชราญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร)

วันศุกร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ ณ ทำเนียบสถานเอกอัครราชทูต ถนนไกสอน พมวิหาน บ้านสีบุนเฮือง เมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์

กฎหมาย สปป.ลาว ที่คนไทยควรรู้ ข้อควรระวัง มาเยี่ยม  #แฟนคนลาว และคนรู้จักใน สปป. ลาว
19/12/2024

กฎหมาย สปป.ลาว ที่คนไทยควรรู้
ข้อควรระวัง มาเยี่ยม #แฟนคนลาว และคนรู้จักใน สปป. ลาว

สถานเอกอัคราชทูต ณ เวียงจันทน์ ขอเชิญ พุทธศาสนิกชนร่วมรับฟังพระธรรมเทศนาโดยพระพรหมพัชราญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร)วันศุกร...
16/12/2024

สถานเอกอัคราชทูต ณ เวียงจันทน์ ขอเชิญ พุทธศาสนิกชนร่วมรับฟังพระธรรมเทศนาโดยพระพรหมพัชราญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร)

วันศุกร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ ณ ทำเนียบสถานเอกอัครราชทูต ถนนไกสอน พมวิหาน บ้านสีบุนเฮือง เมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์

เดินหน้าสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมบึงกาฬ-บอลิคำไซเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2562 นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรอง...
12/12/2024

เดินหน้าสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมบึงกาฬ-บอลิคำไซ

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2562 นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 (จังหวัดบึงกาฬ- แขวงบอลิคำไซ) โดยมอบหมายให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกแบบและก่อสร้าง โดยรัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ขณะที่ สปป. ลาว ใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ NEDA ภายใต้วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง 3,930 ล้านบาท ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร โดยสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งใหม่นี้รัฐบาลไทยและ สปป. ลาวร่วมกันผลักดันเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงของระบบคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของการกระชับความสัมพันธ์ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ภายหลังการลงนามข้อตกลงการก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม 2563 และมีพิธีวางศิลาฤกษ์โดยนายกรัฐบมนตรีของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2565 โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ระยะ (สถานะปัจจุบัน โครงสร้างของตัวสะพานในส่วนของฝ่าย สปป. ลาวและฝ่ายไทย ดำเนินการแล้วเสร็จแล้วกว่าร้อยละ 90 โดยคาดว่าจะสามารถเชื่อมสะพานได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และเปิดใช้งานได้ภายในช่วงกลางปี 2568 ทั้งนี้ แผนงานต่อไปสำหรับการสร้างสะพานมิตรภาพ คือการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 6 เชื่อมจังหวัดอุบลราชธานีกับแขวงสาละวัน
�โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 5 (จังหวัดบึงกาฬ-แขวงบอลิคำไซ) จะมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนระหว่างคนไทยและคนลาว รวมทั้งประชาชนจากประเทศที่ 3 ให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และความเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง สะพานมิตรภาพแห่งนี้ซึ่งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย สปป.ลาว เวียดนาม จะทำหน้าที่เชื่อมสัมพันธ์บนเส้นทางความเชื่อมโยงของแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่สามารถเชื่อมจากไทย ผ่าน สปป.ลาว เข้าสู่เวียดนามได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ ข้างต้นจึงมีผลต่อการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจระหว่าง 3 ประเทศร่วมกัน ทั้งในมิติด้านการท่องเที่ยว ด้านการคมนาคมขนส่ง ด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือในภาคประชาชน และเป็นสะพานมิตรภาพฯ แห่งแรกของจังหวัดบึงกาฬและแขวงบอลิคำไซอีกด้วย โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ นี้ ยังช่วยเสริมสร้างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ต่อเนื่องของจังหวัดบึงกาฬและแขวงบอลิคำไซด้วย จะเห็นได้จากการเตรียมการของรัฐบาล สปป. ลาวที่เปิดให้จองพื้นที่ใกล้กับสะพานมิตรภาพฯ เพื่อเตรียมก่อสร้างท่าบกบอลิคำไซ สำหรับรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเติบโตขึ้น อาทิ การค้าชายแดน การอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจและการค้า การยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นในพื้นที่การขยายตัว ของการท่องเที่ยว ซึ่งสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันในภูมิภาคบนเส้นทางความเชื่อมโยงสามประเทศ และการลงทุนที่จะตามมาในอนาคต เฉกเช่นเดียวกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งอื่น ๆ ที่ได้เปิดใช้งานแล้วในปัจจุบัน
�สอท. คาดการณ์ว่า การสร้างสะพานมิตรภาพแห่งนี้ จะส่งผลให้ สปป. ลาวได้รับประโยชน์จากภาคบริการขนส่งสาธารณะที่จะเติบโตขึ้น เนื่องจากมีความต้องการเดินทางจากประชาชนทั้งสองฝั่ง รวมทั้งจะสามารถดึงดูดการค้าและการลงทุนเข้ามาในพื้นที่ของฝั่ง สปป. ลาวมากขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเดินทางของนักลงทุนที่ได้รับความสะดวกมากขึ้น การเปิดสะพานฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต อาทิ แขวงบอลิคำไซจะสามารถส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติได้ภายหลังการก่อสร้างสะพานฯ แล้วเสร็จ ทั้งนี้ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาคส่วนจังหวัดและแขวงจำเป็นต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม และปรับปรุงการให้บริการเพื่อตอบสนองและรองรับต่อความต้องการด้านการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยว และการสัญจรของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และสร้างผลประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้ (1) ด้านการท่องเที่ยว นอกจากผลดีด้านการค้าและคมนาคมการขนส่งแล้ว สะพานมิตรภาพฯ จะส่งผลดีต่อด้านการท่องเที่ยวด้วย เนื่องจากจังหวัดบึงกาฬและแขวงบอลิคำไซยังมีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธรรมชาติ มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในท้องถิ่นมาก และสามารถเชื่อมโยงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

ร่วมกันได้ โดยมุ่งเน้นให้ภาคการท่องเที่ยวเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน และสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติควบคู่กับการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมได้�(2) ด้านการค้าการลงทุน โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ จะช่วยส่งเสริมให้แขวงบอลิคำไซเติบโตมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่า แขวงบอลิคำไซตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของ สปป. ลาว บนเส้นทางความเชื่อมโยงระหว่างสามประเทศ ไทย สปป. ลาว และเวียดนาม รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อพื้นที่ตอนเหนือและตอนใต้ของ สปป.ลาว ซึ่งจะช่วยยกระดับความสำคัญของแขวงบอลิคำไซให้เติบโตและพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านความเชื่อมโยงในระยะต่อไปได้ หากมีแนวทางการพัฒนาและการวางแผนที่รัดกุมโดยคำนึงถึงการเติบโตในภาพรวมอย่างยั่งยืน
(3) การขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือระหว่างสองประเทศในมิติต่าง ๆ การก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน ทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ อาทิ การยกระดับการค้าชายแดน การส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเมืองรองของสองประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดน การกระตุ้นเศรษฐกิจและการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ตลอดจนช่วยเสริมสร้างรายได้และอาชีพให้กับท้องถิ่นได้อย่างมั่นคง สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาส่วนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี�
การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้านความเชื่อมโยงภายใต้โครงการด้านการขนส่งภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาความเชื่อมโยงอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยง 5 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา ไทย สปป. ลาว เวียดนามและกัมพูชา โดยเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกการคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างไทยและ สปป. ลาว รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน ช่วยกระตุ้นกิจกรรมและความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้อย่างมีนัยสำคัญ และยังมีบทบาทสำคัญส่งเสริมความสัมพันธ์ในภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างไทยและ สปป. ลาว สะพานแห่งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญและเป็นเสมือนกุญแจที่จะช่วยไขประตูสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้ในอนาคต

ข้อมูลอ้างอิง
https://workpointtoday.com/0news-50/
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1034772
ขอขอบคุณรูปภาพจาก กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ เยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สปป. ลาวเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 นา...
11/12/2024

เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ เยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สปป. ลาว

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ เข้าเยี่ยมคารวะศาสตราจารย์ ดร. บ่อเวียงคำ วงดาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สปป. ลาว เพื่อหารือเรื่องการส่งเสริมและขับเคลื่อนความร่วมมือด้านดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ระหว่างไทย - สปป. ลาว บนพื้นฐานของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล
เมื่อปี 2565 อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัล การแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์เพื่อพัฒนาศักยภาพและรับมือกับความท้าทายด้านดิจิทัลของภาครัฐ การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะด้านการเกษตรและการป้องกันภัยพิบัติ ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ร่วมกัน รวมทั้งได้หารือแนวทางการจัดโครงการหรือกิจกรรมเพื่อฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 75 ปีในปี 2568 ด้วย

ເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ຢ້ຽມຂໍ່ານັບລັດຖະມົນຕີກະຊວງເຕັກໂນໂລຊີ ແລະ ການສື່ສານ ສປປ ລາວ.

ເມື່ອວັນທີ 3 ທັນວາ 2024 ທ່ານນາງ ມໍຣະກົດ ສີສະຫວັດ ເອກອັກຄະຣາຊະທູດໄທ ປະຈຳ ສປປ ລາວ ເຂົ້າຢ້ຽມຢ້ຽມຂໍ່ານັບສາສະດາຈານ ປະລິນຍາເອກ ບໍ່ວຽງຄຳ ວົງດາລາ ລັດຖະມົນຕີກະຊວງເຕັກໂນໂລຊີ ແລະ ການສື່ສານ ສປປ ລາວ ເພື່ອຫາລືເລື່ອງການສົ່ງເສີມ ແລະ ຂັບເຄື່ອນການຮ່ວມມືດ້ານດິຈິຕອນໃນດ້ານຕ່າງໆ ລະຫວ່າງໄທ - ສປປ ລາວ ບົນພື້ນຖານຂອງບົດບັນທຶກຄວາມເຂົ້າໃຈວ່າດ້ວຍການຮ່ວມມືດ້ານໄປສະນີ, ໂທລະຄົມມະນາຄົມ, ເຕັກໂນໂລຊີຂໍ້ມູນຂ່າວສານ ແລະ ການສື່ສານ ແລະ ເຕັກໂນໂລຊີດິຈິຕອນ ໃນປີ 2022 ເຊັ່ນ: ເສດຖະກິດດິຈິຕອນ, ການພັດທະນາຊັບພະຍາກອນມະນຸດດ້ານດິຈິຕອນ, ການແລກປ່ຽນບົດຮຽນ ແລະ ປະສົບການເພື່ອພັດທະນາສັກກາຍະພາບ ແລະ ຮັບມືກັບຄວາມທ້າທາຍດ້ານດິຈິຕອນຂອງພາກລັດ, ການໃຊ້ເຕັກໂນໂລຊີເພື່ອສົ່ງເສີມການພັດທະນາຢ່າງຍືນຍົງ ໂດຍສະເພາະດ້ານການກະເສດ ແລະ ການປ້ອງກັນໄພພິບັດ ລວມເຖິງ, ໄດ້ຫາລືແນວທາງການຈັດໂຄງການຫາລືກິດຈະກຳເພື່ອສະເຫຼີມສະຫຼອງການພົວພັນທາງການທູດຄົບຮອບ 75 ປີ ໃນປີ 2025 ດ້ວຍ.

On 3 December 2024, Ambassador Morakot Sriswasdi paid a courtesy call on H.E. Prof. Dr. Boviengkham VONGDARA, Minister of Technology and Communications of the Lao PDR, to discuss and advance cooperation on various aspects of digital collaboration between Thailand and the Lao PDR, based on the Memorandum of Understanding on Cooperation in the Field of Post, Telecommunications, Information and Communication Technology and Digital Technology agreed by both sides in 2022. Key areas of cooperation discussed during the Meeting includes digital economy, human resource development in the digital sector, exchange of best practice and experiences to enhance capacity and address digital challenges for the public sector, as well as the use of technology to promote sustainable development, particularly in agriculture and disaster prevention. Furthermore, the meeting emphasised on strengthening cooperation and the exchange of information to enhance joint Cybersecurity efforts. Both sides also discussed the plan to organise activities to celebrate the 75th Anniversary of Diplomatic Relations Between Thailand and the Lao PDR in 2025

โอกาสและความท้าทายของตลาดของฝากใน สปป.ลาวสปป.ลาว ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก...
11/12/2024

โอกาสและความท้าทายของตลาดของฝากใน สปป.ลาว

สปป.ลาว ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และต่างประเทศให้ความสนใจ ด้วยความงดงามของธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและมีเรื่องราวน่าสนใจในทุกท้องถิ่น ทำให้สปป. ลาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญและมีจุดเด่นเรื่องการอยู่ร่วมกันด้วยอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชนเผ่า ส่งผลให้งานหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นสินค้าของฝากที่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อหาเพื่อนำกลับไปเป็นที่ระลึกหรือของขวัญเมื่อเดินทางกลับ

ความท้าทายของผู้ประกอบการ

แม้จะมีโอกาสในการพัฒนาสินค้าท้องถิ่นสำหรับตลาดนักท่องเที่ยว แต่ผู้ประกอบการใน สปป. ลาว ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดึงดูดความสนใจและเหมาะสมสำหรับการเดินทาง การพัฒนาคุณภาพสินค้าบางชนิดให้มีมาตรฐานสูงขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะในฤดูกาลท่องเที่ยว และอีกหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญคือ การทำตลาดและการสร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์ท้องถิ่น ผู้ประกอบการหลายรายยังจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการตลาด อาทิ การใช้สื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขาย และการพัฒนาปรับปรุงเทคนิคการทำการตลาดที่เหมาะสม โดยผู้ประกอบการท้องถิ่นจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และสร้างความโดดเด่นให้สินค้าเพื่อให้เกิดความแตกต่าง มีคุณค่าและเอกลักษณ์เป็นที่จดจำ และดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว โดยสร้างการรับรู้ผ่านการประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและในวงกว้างเพื่อให้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์และสินค้าเป็นที่นิยม นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการผลิตและการกระจายสินค้าสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

โอกาสในการพัฒนา

ผู้ประกอบการของ สปป.ลาวสามารถใช้ประโยชน์จากความสนใจของนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีความเป็นท้องถิ่นแท้จริง และพัฒนาสินค้าลาวให้มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นมากยิ่งขึ้น โดยการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นและงานหัตถกรรมชุมชนหรือชนเผ่ามาใช้ในกระบวนการผลิต

งานฝีมือที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ยากจะลอกเลียนแบบ และมีชื่อเสียงของ สปป.ลาว คือผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายและผ้าไหมทอมือ ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่ต้องการซื้อของฝากที่สวยงาม มีความเป็นเอกลักษณ์ด้วยลวดลายต่าง ๆ อาทิ พญานาคที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่จับต้องไม่ได้ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (UNESCO) ลายหงส์ ลายไก่ฟ้า ฯลฯ ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านของลาวผ่านการทอที่ประณีตและใช้ฝีมือและทักษะการทอที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ้าทอมือจากหมู่บ้านต่าง ๆ เช่น ผ้าซิ่นลาวจากเมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน และแขวงอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง มีกระแสตอบรับที่ดีจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่นิยมงานหัตถกรรมที่มีความละเอียดประณีต มีคุณค่าทางศิลปะ การส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นเหล่านี้ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางออนไลน์และการพัฒนาสร้างความแข็งแรงให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น จะสามารถช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ ความน่าสนใจ และความต้องการในตลาดมากยิ่งขึ้น

แนวทางการพัฒนาตลาดของฝากในอนาคต

ในการพัฒนาตลาดของฝากใน สปป.ลาว ผู้ประกอบการควรเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความประทับใจและสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบตลอดจนกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ หรือ เน้นคุณค่าของผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม การทำการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์และแตกต่างจากสินค้าทั่วไป รวมถึงการพัฒนาทักษะเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการทำการตลาดผ่านช่องทางจัดจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

นอกจากนี้ การสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีความสำคัญ เช่น การจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดและการผลิตให้กับผู้ประกอบการที่มีความสนใจ ทั้งนี้ สอท.รับทราบว่า ในพื้นที่หลายแขวงมีความต้องการในการฝึกอบรมการทำการตลาด และการส่งเสริมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยเช่นกัน การจัดฝึกอบรมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งเสริมตลาดพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการทั้งรายย่อยและขนาดกลาง ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงส่งเสริมการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและงานจัดแสดงระดับนานาชาติ เพื่อให้สินค้าและหัตถกรรมท้องถิ่นของลาวได้มีโอกาสเป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งในบริบทนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งใน สปป. ลาว ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศหุ้นส่วนการพัฒนาที่จะช่วยกันเสริมสร้างทั้งโอกาสและความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ สินค้าและหัตถกรรมของ สปป. ลาว สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิง
https://blog.naver.com/gj30603/223429705176
https://www.ditp.go.th/contents_attach/79276/79276.pdf
https://www.traveloka.com/th-th/explore/destination/best-laos-souvenirs/360282
ขอขอบคุณรูปภาพจาก Marie Matin : istockphoto

การเติบโตของวงการศิลปะและศิลปินรุ่นใหม่ใน สปป. ลาว“ศิลปะมีไว้เพื่อให้เป็นที่ยินดีและขัดเกลาความคิดจิตใจให้ผ่องใส” คือ คำ...
10/12/2024

การเติบโตของวงการศิลปะและศิลปินรุ่นใหม่ใน สปป. ลาว

“ศิลปะมีไว้เพื่อให้เป็นที่ยินดีและขัดเกลาความคิดจิตใจให้ผ่องใส” คือ คำนิยามของศิลปะที่ตรงไปตรงมาในความหมายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ปราชญ์ศิลปินผู้วางรากฐานศิลปะไทยสมัยใหม่ และอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปะจึงเป็นสิ่งที่เป็นภาษาสากลและเป็นความหมายของการมีชีวิตโดยไม่ต้องใช้คำอธิบาย หรือ คำบรรยายความที่ยืดยาว การเติบโตของวงการศิลปะในประเทศไทยเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตของชุมชนเมืองอย่างชัดเจน ความนิยมชื่นชมคุณค่าของงานศิลปะเริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้นเมื่อเมื่อผู้คนและสังคมแวดล้อมมีความอยู่ดีกินดี มีความมั่นคงในชีวิต และมีโอกาสได้เรียนรู้ความงามของศิลปะในแขนงต่าง ๆ เริ่มหันมาใส่ใจ พัฒนา และชื่นชมยินดีกับงานศิลปะที่ช่วยจรรโลงใจ ศิลปะจึงเป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับสังคม เป็นสิ่งที่สะท้อนและบ่งชี้ถึงคุณค่าของผู้คน วัฒนธรรมและสังคมอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
เช่นเดียวกับเส้นทางของวงการศิลปะใน สปป. ลาว ที่ปัจจุบันเริ่มเติบโต และผลิดอกออกผล โดยมีงานจัดแสดงผลงานของศิลปินทั้งเก่าและใหม่อย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผู้เขียนเฝ้าติดตามภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเติบโตของชุมชนเมือง และวิถีชีวิตของผู้คนแล้ว สิ่งที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและน่าจับตามองคือผลงานด้านศิลปะและพัฒนาการของศิลปินรุ่นใหม่ใน สปป. ลาว ในแต่ละปีจะมีงานจัดแสดงผลงานศิลปะและนิทรรศการทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ที่ขับเคลื่อนโดยศิลปินรุ่นเก่ารุ่นใหม่ใน สปป. ลาว สถาบันวิจิตรศิลป์แห่ง สปป. ลาว ตลอดจนผู้คนที่ตระหนักถึงคุณค่าและมีส่วนผลักดันในการเปิดพื้นที่จัดแสดงให้กับศิลปินมากขึ้น งานแสดงจิตรกรรมและประติมากรรม “เส้นทางเดียวกัน“ จัดโดยนายมิก สายลม ร่วมกับศิลปินลาวจำนวน 15 คน ทั้งศิลปินแห่งชาติและศิลปินรุ่นใหม่ ๆ ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ย. 2567 ที่สตูดิโอมิกสายลม เป็นอีกงานที่ขับเคลื่อนวงการศิลปะและได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในบรรดาผู้รักงานศิลปะ
หนึ่งในนิทรรศการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมและชื่นชมเป็นอย่างยิ่งคือ HOPE: Lao Contemporary Art Exhibition จัดแสดงที่ศูนย์การค้า Parkson ใจกลางนครหลวงเวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-17 พ.ย. 2567 ที่มีผลงานศิลปะร่วมสมัยในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งงานเขียน ภาพวาด ประติมากรรม ภาพถ่าย ภายใต้หัวข้อเรื่อง“ความหวัง” โดยภายในงานได้นำผลงานของศิลปินรุ่นใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้มีพื้นที่สำหรับศิลปินในการแสดงแนวคิด ขยายความ และให้คำอธิบายต่อผลงาน มีศิลปินบอกเล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน และมีกิจกรรมดี ๆ เพื่อส่งเสริมชุมชนศิลปะอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในผลงานสำคัญที่สร้างความประทับใจให้กับผู้เขียนอย่างยิ่งคือ การนำผลงานศิลปะของน้อง ๆ ผู้พิการทางการได้ยิน ที่กลุ่มศิลปินลาวได้ร่วมไปเป็นครูอาสาสอนศิลปะและได้นำผลงานของน้อง ๆ ผู้พิการมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดง ผลงานของน้อง ๆ สะท้อนถึงความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ และความรู้สึกของเจ้าของผลงานอย่างเต็มที่ อีกหนึ่งผลงานที่สร้างความประทับใจคือ การจัดแสดงผลงานที่สร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้ชม โดยการตั้งคำถามที่เรียบง่ายแต่กระตุกใจให้ฉุกคิดว่า ‘ถ้าหากย้อนอดีตได้ คุณอยากจะกลับไปแก้ไขมันหรืออยากจะเก็บไว้’ โดยจัดแสดงเรื่องราวอดีตที่เจ็บปวด อดีตที่มีความสุข ของหลาย ๆ คนเพื่อสะท้อนถึงคำถามข้างต้นว่า ถ้าหากเราสามารถย้อนเวลากลับไปได้เราจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์หรือประสบการณ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งย้ำเตือนให้ดำรงชีวิตด้วยสติอยู่เสมอ

นอกจากผลงานทัศนศิลป์และวิจิตรศิลป์แล้ว ปัจจุบันวงการศิลปินนักร้องของ สปป. ลาว เองก็เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดเช่นเดียวกัน หลังจากช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ศิลปินวงร็อคของ สปป. ลาว ที่เคยไปโด่งดังในไทยอย่างวง Cell ได้ปักธงสร้างผลงานเพลงเป็นที่ชื่นชอบในไทยสำเร็จแล้ว ปัจจุบัน ยังมีศิลปินหน้าใหม่ของ สปป. ลาว ที่ยังมีผลงานเพลงและสร้างกระแสนิยมในโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่องในกลุ่มนักฟังเพลงชาวไทย อาทิ หนุ่มมีซอ หยุด สาละวัน SOPHANA BAY6iX LALA วง Black Eyes รวมถึงมีศิลปินรุ่นใหม่ที่ได้เซ็นสัญญาเข้าสู่ค่ายเพลงดังของไทยอย่าง Smallroomคือ น้องจัส (JUST”) ซึ่งน่าจับตามองถึงโอกาสและการเติบโตของวงการเพลงของ สปป.ลาว ที่ยังมีศักยภาพอีกมากเช่นเดียวกันกับวงการศิลปะอื่น ๆ

ศิลปะหาคำจำกัดความได้ยาก ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนเพราะสร้างสรรค์จากจินตนาการ และขึ้นอยู่กับการตีความของศิลปิน การเติบโตของชุมชนศิลปะใน สปป.ลาว เป็นภาพสะท้อนถึงการเติบโตของผู้คน สังคมและวัฒนธรรมของ สปป. ลาว ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง จากพื้รากของขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ผ่านกาลเวลาและประสบการณ์ของผู้คนในสังคมมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนว่า การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นได้โอบรับและ
เคลื่อนตัวไปกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกภายนอกอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันถึงประโยคอมตะของอาจารย์ศิลป์ พีระศรีว่า ‘ชีวิตแสนสั้น ศิลปะยืนยาว’ ที่ศิลปะจะยังคงอยู่และเคลื่อนตัวไปอย่างไม่สิ้นสุด

ข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพ

https://art4d.com/2024/06/silpa-bhirasri-100-years-after-his-arrival-in-thailand
เพจ FB : HOPE : Lao Contemporary Art Exhibition
https://laotiantimes.com/2024/11/03/hope-lao-contemporary-art-exhibition-opens-in-vientiane/

Address

Vientiane

Opening Hours

Monday 09:00 - 17:00
Tuesday 09:00 - 17:00
Wednesday 09:00 - 17:00
Thursday 09:00 - 17:00
Friday 09:00 - 17:00

Telephone

+856 21 214 581-2

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Royal Thai Embassy, Vientiane posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Organization

Send a message to Royal Thai Embassy, Vientiane:

Share